วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555


เรื่อง   ค่าของน้ำ
                การประปาส่วนภูมิภาค   เป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการก่อสร้างและบริหารงานเกี่ยวกับกิจการประปาส่วนภูมิภาค   และชนบทต่าง  ๆ  การดำเนินงานจัดหาน้ำสะอาดในชนบทที่ได้เริ่มดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข   เนื่องจากเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า   น้ำเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี   การมีน้ำสะอาดไว้ดื่มและใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเพียงพอ   รวมทั้งการมีการสุขาภิบาลที่ดี   ย่อมเป็นพื้นฐานในการทำให้ประชาชนมีคุณภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากน้ำ   งานจัดหาน้ำสะอาดในชนบทได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมอนามัย   พ.ศ.   2496   โดยให้กองช่างสุขาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารสถานที่ราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและมีบทบาทในการพัฒนาระบบการจัดหาน้ำสะอาด   และมีหน้าที่ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สะอาดและส่งถึงประชาชนโดยสะดวกและปลอดภัย
                ต่อมาความต้องการน้ำสะอาดสำหรับใช้อุปโภคบริโภคได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น การผลิตและการจำหน่ายโดยการให้บริการของกองประปาส่วนภูมิภาค   คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อ   9   พฤษภาคม   2521   ให้มีการปรับรูปแบบการบริหารกิจการประปาส่วนภูมิภาคเป็นแบบรัฐวิสาหกิจ   ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้ง   การประปาส่วนภูมิภาคหรือ   กปภ.   ขึ้นเมื่อวันที่   28   กุมภาพันธ์   2522   โดยรวมกิจการประปาภูมิภาคของกรมโยธาธิการการจำนวน   185   แห่ง   กับกิจการประปาชนบทของกรมอนามัยจำนวน   550   แห่ง   เข้ามาดำเนินงานในรูปแบบรัฐวิสาหกิจช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่   5  และฉบับที่   6   คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ให้เป็นช่วงของทศวรรษการจักการน้ำสะอาดและสุขาภิบาลในประเทศไทยขึ้น   เพื่อให้มีการรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศไทย   จำนวนร้อยละ   95   มีน้ำสะอาดไว้อุปโภคบริโภค   โดยให้มีน้ำสะอาดเพียงพอสำหรับดื่มอย่างน้อย   5   ลิตร   ต่อคนต่อวัน   และน้ำใช้เพียงพอ   45  ลิตร   ต่อคนต่อวัน   ภายในปี   พ.ศ.   2534   ขณะนั้นกรมอนามัยซึ่งรับผิดชอบงานเจาะบาดาลอยู่   จึงได้ปรับปรุงงานด้านการจัดสร้างระบบปาปาหมู่บ้านอีกครั้ง   โดยก่อสร้างระบบหมู่บ้านในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลและเขตสุขาภิบาล   เพื่อให้ประชาชนในชนบทห่างไกลได้มีน้ำสะอาดจากระบบประปาใช้สำหรับอุปโภค


บริโภคอย่างทั่งถึง   โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านตั้งแต่ปี   พ.ศ.   2525   เป็นต้นมา   และจากประสบการที่ผ่านมาของกรมอนามัยในด้านการบริหารกิจการประปา   พบว่าการบริหารกิจการประปาให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่เพียงแต่มีโครงสร้างระบบประปาที่ดีเท่านั้น   สิ่งสำคัญต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีระบบ   มีการบริหารงานบุคคล   การผลิต   การจำหน่ายน้ำประปา   ตลอดจนมีการให้บริการด้านต่าง  ๆ  โดยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการประปา   เพื่อให้มีผลประกอบการที่ดี   ซึ่งทำให้ระบบประปาสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนดังนั้น   เมื่อกรมอนามัยก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านแล้วเสร็จจะยกมอบอำนาจการบริหารให้แก่คณะกรรมการระบบประปาหมู่บ้าน   ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นทำหน้าที่บริหารกิจการประปาหมู่บ้าน   โดยกรมอนามัยได้กำหนดให้มีการเตรียมชุมชนให้แก่ท้องถิ่นนั้น  ๆ  เพื่อให้ประชาชน  ได้มีโอกาสมาประชุมปรึกษาหารือและรับทราบ   แนวทางการการบริหารกิจการระบบประปา   และมีส่วนร่วมในการดูแลในการก่อสร้างระบบประปา   หลังจากก่อสร้างระบบประปาเสร็จแล้วกรมอนามัยก็มีการอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตน้ำประปา   การบำรุงรักษาระบบประปา   ทำให้ผลการดำเนินงานของกิจการประปาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ                        
                รัฐบาลมีนโยบายก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านให้แก่ประชาชนที่มีความขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้   โดยถือว่าระบบประปาชนบทเป็นบริการขั้นพื้นฐานไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรมคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ   เมื่อวันที่   6   สิงหาคม   2534   อนุมัติให้ใช้แผนเร่งรัดจัดให้มีน้ำสะอาดในชนบท   ตามที่สำนักงานคณะกรรมพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำขึ้น   เป็นกรอบสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   คือ   กรมอนามัย   กรมโยธาธิการ   กรมทรัพยากรธรณี   สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท   และการประปาส่วนภูมิภาค   ใช้ประกอบการจัดทำโครงการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านต่อไป   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภค   โดยระบบประปาอย่างทั่วถึง   โดยได้กำหนดเป้าหมายให้ก่อสร้างระบบประปาเพิ่มขึ้น   41,152   หมู่บ้าน   ภายในปี   2544   หรือครอบคลุมร้อยละ   70   ของหมู่บ้าน   ต่อมาในปี   พ.ศ.   2535   รัฐบาลได้นำแนวทางการบริหารกิจการประปาของกรมอนามัยกำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาชนบท   พ.ศ.   2535   ซึ่งระเบียบนี้แสดงเจตนารมณ์ไว้เพื่อให้การบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบชนบทที่รัฐบาลลงทุนก่อสร้างนั้นเป็นไปในเชิงธุรกิจ   สามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยไม่เป็นภาระของรัฐ          
                 การผลิต และการจำหน่ายน้ำประปา ของการประปาส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ 2550 – 2554มีผลต่อจำนวนผู้ใช้น้ำ   และปริมาณน้ำที่จำหน่ายของการประปาส่วนภูมิภาค  


ประมาณการกำหนดเป้าหมายการผลิตและจำหน่ายในตารงที่   1   ในแต่ละปีจะมีปริมาณการผลิตมากกว่าจำหน่าย
ตารางที่   1   ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายน้ำประปา




ประชากรใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค  จำนวนประชากรที่ใช้น้ำในแต่ละปีก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย   น้ำเป็นปัจจัยพื้นฐาน ประชากรต้องการน้ำไว้อุปโภคบริโภค   เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี  ปราศจากโรคภัย  จำนวนผู้ที่ใช้น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย   ดังกราฟที่   1   ตั้งแต่   พ.ศ.   2550 มีปริมาณประชากรที่ใช้น้ำ   2,628,470 คน   พ.ศ.   2551  มีปริมาณประชากรที่ใช้น้ำ  2,771,418   คน   พ.ศ.   2552   มีปริมาณประชากรที่ใช้น้ำ   2,935,356   คน   พ.ศ.   2553   มีปริมาณประชากรที่ใช้น้ำ  3,106,914   คน   พ.ศ.   2554   มีปริมาณประชากรที่ใช้น้ำ   3,265,334   คน   จะเห็นว่าในแต่ละปีจะมีผู้ที่ใช้น้ำเพิ่มขึ้น 
 กราฟที่   1   จำนวนประชากรที่ใช้น้ำ

ปริมาณการผลิตประปาได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีประชากรเพิ่มขึ้นและก็มีความต้องการน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค   น้ำจึงต้องมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น   เพื่อให้เพียงพอแก่ประชากรที่ต้องการใช้น้ำ   ดังตารางที่   2   ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น   ในพ.ศ.  2550  จะมีการผลิตน้ำประมาณ   1,111.60   ลบ.ม.   พ.ศ.   2551   จะมีการผลิตน้ำประมาณ   1,177.20   ลบ.ม.   พ.ศ.   2552   จะมีการผลิตน้ำประมาณ   1,245.50   ลบ.ม.   พ.ศ.   2553   จะมีการผลิตน้ำประมาณ   1,380   ลบ.ม.   พ.ศ.   2554   จะมีการผลิตน้ำประมาณ   1,381.60   ลบ.ม.   จะเห็นว่ามีปริมาณการผลิตน้ำเพิ่มขึ้น

กราฟที่   2   ปริมาณการผลิตน้ำ

ปริมาณการจำหน่ายน้ำในแต่ละปีก็ได้เพิ่มขึ้น   ประชากรเพิ่มขึ้นก็ย่อมมีการใช้น้ำเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา   เราจะเห็นได้ว่าในกราฟที่   3   จะมีการผลิตเพิ่มเหมือนกัน   เปรียบเทียบปริมาณการผลิตในกราฟที่   3   จะพบว่าปริมาณการผลิตน้ำสูงกว่าปริมาณการจำหน่าย    ปริมาณในการจำหน่ายน้ำในแต่ละปีก็ได้เพิ่มขึ้น   ดังกราฟที่   3   จะเห็นว่า ในพ.ศ.   2550   จะมีปริมาณการจำหน่าย   794.7   ลบ.ม.   พ.ศ.   2551   จะมีปริมาณการจำหน่าย   84.9   ลบ.ม.   พ.ศ.   2552   จะมีปริมาณการจำหน่าย   883.6   ลบ.ม.   พ.ศ.   2553จะมีปริมาณการจำหน่าย   959.6   ลบ.ม.   พ.ศ.   2554   จะมีปริมาณการจำหน่าย   982.4   ลบ.ม.   จะมีการเพิ่มขึ้นทุกปี





กราฟที่   3   ปริมาณการการจำหน่าย

ค่าเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีผู้ที่ใช้น้ำประมาณ   25 %   ต่อรายต่อเดือน   น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ต้องการ   น้ำมีความสำคัญในการดำรงชีวิต   ดังนั้นทุกคนต้องการใช้น้ำ   ปริมาณการใช้น้ำจะเป็นดังกราฟที่ 4   จะเห็นว่า ในปีพ.ศ.   2550   มีการใช้น้ำเฉลี่ย   25%  ลบ.ม./ราย/เดือน   พ.ศ.   2551   มีการใช้น้ำเฉลี่ย   25%  ลบ.ม./ราย/เดือน   พ.ศ.   2552   มีการใช้น้ำเฉลี่ย   25%  ลบ.ม./ราย/เดือน   พ.ศ.   2553   มีการใช้น้ำเฉลี่ย   25%  ลบ.ม./ราย/เดือน  
    กราฟที่  4   ค่าเฉลี่ยในการใช้น้ำ/ราย/เดือน

สรุป
   น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต   มนุษย์เราย่อมต้องการน้ำที่สะอาดในการอุปโภคบริโภค เพื่อสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ   เราจะเห็นว่าปริมาณการใช้น้ำของแต่ละคนมีปริมาณเท่าเดิมแต่ปริมาณในการผลิต   การจำหน่าย  สูงขึ้นในแต่ละปี   เป็นเพราะมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี  ในเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็ย่อมต้องการที่จะใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตเหมือนกัน   น้ำเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์   มนุษย์ทุกคนมีการใช้น้ำในชีวิตประจำวันอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่  ผู้ชายหรือผู้หญิง  ล้วนแล้วแต่ต้องการน้ำด้วยกันทั้งสิ้น   การประปาส่วนภูมิภาคจึงต้องมีการผลิตน้ำเพิ่มขึ้น  ให้เพียงพอต่อจำนวนประชากร      

อ้างอิง
          http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search/result_by_department-th.jsp                          
            http://th.wikipedia.org/wiki